♦ เทศบาลตำบลแคราย ยินดีต้อนรับ ♦       ⇒ ผู้สนใจสมารถติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสารราชการเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปลัดเทศบาลตำบล เทศบาลตำบลแคราย โทรศัพท์ ๐๓๔-๔๗๐๖๖๘ ในวันและเวลาราชการ ⇔
ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ ตราสัญลักษณ์


  • เนื่องแต่โบราณนานมา ในพื้นที่เขตตำบลนี้มีต้นแคขึ้นอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงเรียกชื่อตำบลนี้ว่า "ตำบลแคราย" ประกอบกับ สภาตำบลแครายได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย (เทศบาลตำบลแคราย ในปัจจุบัน) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๙ ง หน้าที่ ๑๗๕ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น สภาตำบลแครายจึงมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแครายตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นไป โดยใช้สัญลักษณ์รูปดอกแคเป็นเครื่องหมายขององค์การบริหารส่วนตำบล


    ต่อมาจึงมีการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบลแคราย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลตำบลแคราย ฉบับลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 225 ง เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

  • “ ตำบลแครายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ทันสมัย และปราศจากมลพิษ "


    พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น

    1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อม
         (1) จัดให้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วทั้งทางบก และทางน้ำ
         (2) พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ต่างๆ ให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่
         (3) จัดให้มีระบบน้ำประปา (บาดาล) ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของประชาชน
         (4) จัดให้มีไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
         (5) ส่งเสริม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้ยั่งยืน
    2. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของชุมชน
         (1) ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมภายในตำบลให้ทันสมัยมากขึ้น
         (2) จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพและความรู้ด้านต่างๆ ให้กับประชาชนในชุมชน
         (3) จัดให้มีสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์
         (4) จัดให้มีศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
         (5) ป้องกันอุบัติภัยต่างๆ ภายในชุมชน
         (6) ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
    3. การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
         (1) ส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ และการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
         (2) ส่งเสริมบำรุงและรักษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม
         (3) รับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
         (4) ส่งเสริมให้มีการศึกษานอกระบบ
    4. การส่งเสริมสาธารณสุข กีฬาและนันทนาการ
         (1) การดูแลสุขภาพของประชาชนให้ครบ ๔ มิติ ได้แก่ การส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟู สุขภาพของประชาชน
         (2) ส่งเสริมให้มีสถานที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และพบปะสังสรรค์ภายในชุมชน
         (3) ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการของชุมชน
         (4) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม หรือตั้งชมรมการออกกำลังกาย
    5. การพัฒนาการเมือง-การบริหารและการบริการประชาชน
         (1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และปรับปรุงสถานที่สำหรับบริการประชาชน
         (2) พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง
         (3) ปรับปรุงสถานที่ทำงาน และเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
         (4) ส่งเสริมการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม อย่างทั่วถึงเป็นธรรม และรวดเร็ว