- หน้าแรก
- รู้จัก ทต.
- รายงาน
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
แผนพัฒนา
ยุทธศาสตร์
แผนงาน/โครงการสำคัญ งบประมาณ
- รายงาน
รายงานการประชุม
รายงานทางการเงิน
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ความเคลื่อนไหว
- ติดต่อ ทต.
-
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ๑. สภาพทั่วไป สภาตำบลแครายได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๙ ง หน้าที่ ๑๗๕ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สภาตำบลแครายจึงมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแครายตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นไป ๑.๑ ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอกระทุ่มแบน ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน ๕ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสมุทรสาคร ประมาณ ๙ กิโลเมตร โดยมีถนนเศรษฐกิจเป็นเส้นทางหลัก มีหมู่บ้านทั้งสิ้น ๕ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านตากล่อม หมู่ที่ ๒ บ้านแคราย หมู่ที่ ๓ บ้านหนองล่าง หมู่ที่ ๔ บ้านแคราย ๒ หมู่ที่ ๕ บ้านศาลเจ้า ๑.๒ เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแครายมีเนื้อที่ ๙.๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖,๐๕๗ ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสวนหลวง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองมะเดื่อและตำบลบางน้ำจืด ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตหนองแขมและเขตบางบอน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลคลองมะเดื่อ ๑.๓ ประชากร จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๗๑๓ คน เพศชาย ๓,๒๕๑ คน เพศหญิง ๓,๔๖๒ คน มีจำนวนบ้าน ๓,๘๓๘ หลังคาเรือน มีการกระจายของประชากรจำแนกตามหมู่บ้าน ดังนี้
หมายเหตุ ข้อมูล ณ ตุลาคม ๒๕๕๖ ๑.๔ สภาพภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงบางปีมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย มีลำคลองไหลผ่านตำบลทั้งสิ้น ๖ ลำคลอง ซึ่งเป็นลำคลองที่เชื่อมต่อไปยังลำคลองหลักและแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่
๑.๕ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย เป็นชุมชนขนาดเล็ก อาณาเขตที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ประกอบกับตำบลข้างเคียงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ทำให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพรับจ้าง ทั้งรับจ้างอิสระและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่บางส่วนมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นบางส่วนแต่มีปริมาณน้อยลงมาก เนื่องจากมีการขายที่ดินเพื่อนำไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ๒. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒.๑ การคมนาคม / ขนส่ง การคมนาคม ขนส่ง จะใช้ถนนคลองมะเดื่อ - วัดศรีนวล เป็นเส้นทางสายหลักของตำบลแคราย มีรถโดยสารประจำทาง (สองแถว) วิ่งผ่านตำบลแคราย โดยต้นสายเริ่มจากตลาดกระทุ่มแบน - โรงเรียนวิทยาลัยการจัดการเพชรเกษม มีถนนสายต่างๆ ผ่านตำบลแคราย ดังนี้
๒.๒ การไฟฟ้า การไฟฟ้าภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอกระทุ่มแบน องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการดำเนินการติดตั้ง ซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งมีผู้ช่วยช่างไฟฟ้าประจำองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติงานด้านนี้ ประชาชนทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ยังมีรถกระเช้าไฟฟ้า จำนวน ๑ คัน สำหรับงานซ่อมบำรุงไฟฟ้า ๒.๓ การประปา องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ดำเนินการผลิตน้ำบาดาลสำหรับให้บริการประชาชนภายในตำบล ซึ่งมีบ่อน้ำบาดาลทั้งสิ้น จำนวน ๑๑ บ่อ ปัจจุบันประชาชนตำบลแครายได้มีการติดตั้งขอใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาคบ้างบางส่วน ซึ่งมีท่อเมนน้ำประปาการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน ๒ สาย ทุกครัวเรือนมีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคครบทุกครัวเรือน ๒.๔ การสื่อสารและโทรคมนาคม ภายในเขตตำบลแคราย อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอ กระทุ่มแบน ส่วนชุมสายโทรศัพท์อยู่ในความรับผิดชอบของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) มีโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๖๐ แห่ง (TOT ๓๐ แห่ง, TT&T ๓๐ แห่ง) ๓. ด้านเศรษฐกิจ ๓.๑ การรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้ ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างรายได้ ได้แก่ - กลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลแคราย ตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๔ เนื่องจากต้องการให้มีรายได้เสริม จึงชักชวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่เป็นแม่บ้านและมีเวลาว่าง มาทำขนมขบเคี้ยวขายเป็นอาชีพเสริม โดยได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชน ในการแนะนำการทำงานของกลุ่ม และได้กู้เงินจากธนาคารออมสินจากโครงการธนาคารประชาชนเป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท มารวมตัวกันดำเนินการที่กลุ่มโดยได้รับค่าตอบแทนหลังจากนำไปขายแล้ว หักกำไรส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม ใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบและชำระดอกเบี้ยเงินกู้ สมาชิกบางส่วนจะเป็นลูกจ้างรายวัน ๓.๒ รายได้เฉลี่ยของประชากรในตำบล ประชากรภายในตำบลแครายมีรายได้เฉลี่ยประมาณคนละ ๗๒,๐๐๐ บาทต่อปี ๓.๓ การเกษตรกรรม การประอาชีพเกษตรกรรมภายในเขตตำบลแคราย ส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เป็นต้น และพื้นที่บางส่วนยังมีการปลูกผักคะน้า ผักกาด เป็นต้น ๓.๔ การอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การบริการ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีหน่วยธุรกิจต่างๆ ที่ชำระภาษีโรงเรือน กับองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ดังนี้
๓.๕ การท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก คือ อุโบสถเบญจรงค์วัดสุวรรณรัตนาราม ๓.๖ ผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อของตำบลแคราย ได้แก่ ข้าวแตนราดน้ำแตงโม ๔. ด้านสังคม ๔.๑ การศึกษา ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีการจัดการศึกษาระดับต่างๆ ดังนี้ ๑. ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแคราย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย ๒. ระดับก่อนประถมศึกษา-ระดับประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ (๑) โรงเรียนบ้านแครายเกษตรพันธุ์พิทยาคาร (๒) โรงเรียนวัดสุวรรณรัตนาราม ๔.๒ ศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีวัดพุทธ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ วัดเกษตรพันธาราม และวัดสุวรรณรัตนาราม ประชาชนในตำบลแครายส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ๔.๓ การสาธารณสุข ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีสถานบริการที่ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ดังนี้
๔.๔ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย ตลอดถึงภัยธรรมชาติและสาธารณภัยอื่นๆ องค์การบริหารส่วนตำบลแคราย มีรถยนต์ที่สามารถพร้อมปฏิบัติงาน ดังนี้
นอกจากนี้ยังมีป้อมตำรวจประจำตำบลแคราย จำนวน ๑ แห่ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|